วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวสารสนเทศยุคใหม่


บทที่ 1
แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ
                ด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าวสาร และความรู้บางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศนั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว

ความหมายของสานสนเทศ
                สารสนเทศ (Information) หมายถึงข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา

ความสำคัญของสารสนเทศ
                สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางในการพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยในการตัดสินใจ
                รัฐบาลต้องการสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการวินิจฉัยสั่งการและวางแผนงานเพื่อพัฒนาประเทศ วงการธุรกิจ สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานประจำวันของโลกธุรกิจ และวงการอาชีพช่วยในการตัดสินใจ การปฏิบัติงานประจำวันการวางแผนการคาดการณ์สำหรับอนาคต
                วงการการศึกษาและวิจัย สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐาน ช่วยพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัย
                จะเห็นได้ชัดว่า สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญยิ่งในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรของรัฐบาล และเอกชน การศึกษาและการวิจัย แม้แต่กับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้สารสนเทศช่วยในการถ่ายทอดวิชาการและเทคโนโลยีจากบุคคล
หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง จากหน่วยงานหนึ่งสู่อีกหน่วยงานหนึ่ง จากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่ง ซึ่งเกิดเป็นแนวคิด แนวทางในการเกิดความรู้ใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป


ประเภทของสารสนเทศ
                1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำตามสารสนเทศ
                   1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือสารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการผลของการค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ ซึ่งมักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย
                   1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบสรุป ย่อความ จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์การเข้าถึงและใช้ข้อมูลอย่างสะดวก ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ วารสารที่มีการสรุปที่มีการสรุปและย่อความ เป็นต้น
                   1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศ จากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะไม่ได้เห็นเนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในด้านการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
                2.สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
                   2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ที่ง่ายต่อการบันทึก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์
                   2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อย่อส่วนที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วนและแผ่น
                   2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อกและดิจิทัล เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                   2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media ) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  DVD  เป็นต้น

คุณสมบัติสารสนเทศ
                1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็ว ในการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อนำสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งรวดเร็วในการสืบค้น
                2) มีความถูกต้อง (Accurate) ต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่มีความคลาดเคลื่อนหรือเคลื่อนน้อยที่สุด
                3) มีความครบถ้วน (Completeness) ต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง
                4) ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทั้งนี้หากสารสนเทศที่ได้รับนั้นไม่ตรงกับความต้องการก็ไม่เกิดประโยชน์โดยเฉพาะการผลิตสารสนเทศต้องเสียค่าใช้จ่าย
                5) ความทันต่อเวลา (Timeliness) ต้องมีระยะเวลาสั้น มีความรวดเร็วในการประเมินผล เพื่อผู้ใช้จะได้รับทันเวลา
                6) ความชัดเจน (Clarity) ไม่ต้องมีการตีความ กำกวม ไม่คลุมเครือ และไม่ต้องหาคำตอบเพิ่มเติม
                7) ความยืดหยุ่น (Flexibility) นำสารสนเทศไปปรับใช้ได้หลายสถานการณ์ หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าเป็นสารสนเทศที่เฉพาะบุคคล
                8) ความสามารถในการพิสูจน์ (Verifiability) ต้องสามารถหรือพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง
                9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy) สารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
                10) ความไม่ลำเอียง (Bias) ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้น ไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสารสนเทศตามที่ได้กำหนดหรือหาข้อยุติไว้ล่วงหน้า

แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
                แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่เกิด ผลิต หรือจัดเก็บและให้ทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่างๆกัน
                1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น
                2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน คือ สถาบันตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่างๆมาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น เช่น ห้องสมุด เป็นต้น
                3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ
                4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์สำคัญๆต่าง งานมหกรรม งานบุญประเพณี เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศและจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
                5) แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน เน้นการทันสมัย เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
                6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource or Information Material)
                ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง  วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ และความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกได้ว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
                1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่ตีพิมพ์ในกระดาษ
มีขนาดต่างกันและหลายรูปแบบ
                   - หนังสือ (Book)
                   - วารสาร (Periodicals)
                   - หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
                   - จุลสาร (Pamphlet)
                   - กฤตภาค (Clipping)
                2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องผู้ใช้สามารถจดจำและเข้าใจเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ง่าย
                   - ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้มอง ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
                   - โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้ฟัง ได้แก่ เทปเสียง แผ่นซีดี เป็นต้น
                   - โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียงและภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ภาพยนตร์ VCD DVD และรายการโทรทัศน์
                3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูแบบของดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่
                   - ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้นหากต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึกสัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ เช่น CD Flash Drive แล้วจึงนำสื่อนั้นไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
                   - ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมไว้เป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการมีทั้ง ข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือ บทความวารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆข้อมูลสาระสังเขป ข้อมูลตัวเลข สถิติ และเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็คืออินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น