วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ


บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ
1.ความหมายการจัดการสารสนเทศ
                การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การผลิต ตัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือกลยุทธ์ระดับองค์การ

2.ความสำคัญของการจัดสารสนเทศ
                2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
                ในการดำรงชีวิตประจำวันบุคคลย่อมต้องการสารสนเทศหลายด้านเพื่อใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่น ต้องการสารสนเทศเพื่อการดูแลสุขภาพ ต้องจัดการค่าใช้จ่ายในครอบครัว การจัดการสารสนเทศด้านการศึกษา เอื้ออำนวยให้บุคคลสามารถเลือกระบบการศึกษา  สามารถเรียนรู้และศึกษาได้ตลอดเวลาตามความสนใจเฉพาะตน ตามสถาบันการศึกษาที่จัดระบบที่มีชั้นเรียนตลอดไป ความสำคัญด้านการทำงาน บุคคลจำเป็นต้องใช้สารสนเทศทั้งที่เกี่ยวข้องกับองค์การ ภาระหน้าที่ ประกอบการทำงานทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ การจัดเก็บสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบตามภารกิจส่วนตน ช่วยสนับสนุนให้สามารถทำงานได้ ประสบความสำเร็จได้ทันการณ์ ทันเวลา
                2.2 ความสำคัญของการจักการสารสนเทศต่อองค์การ
                1) ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ ให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งต่างๆได้ เพื่อใช้ประกอบภารกิจตามหน้าที่ ตามระดับการบริหาร เพื่อจัดการสารสนเทศให้เหมาะกับสภาพการนำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารงาน ในระดับต่างๆ ให้สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                2) ความสำคัญด้านการดำเนินงาน เพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามกระแสงานหรือขั้นตอน จึงสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน เอื้อให้เข้าถึงและการใช้สารสนเทศได้อย่างสะดวก และในการจัดการ สารสนเทศที่แม้สินสุดกระบวนการปฏิบัติงานแล้ว โดยเฉพาะสารสนเทศที่มีคุณค่า ยังต้องมีการจัดเก็บเป็นจดหมายเหตุเพื่อใช้ประโยชน์
                3) ความสำคัญด้านกฎหมาย เพื่อการดำเนินงาน จำเป็นต้องสอดคล้องกับกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับทั้งในระดับภายในและภายนอกองค์การ โดยเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวขื้องกับการเงินและบัญชีที่ต้องรวบรวมจัดเก็บอย่างต่อเนื่อง


3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ
                3.1 การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
                การจัดการสารสนเทศในระยะแรก สื่อในรูปของสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือ โดยรวบรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผยแพร่ และเทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรก เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ ตามสีของปก ตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องหนังสือ เลขทะเบียน ตามหรือตัวอักษรเพื่อแทนเนื้อหาของสาระของสิ่งพิมพ์ แสดงให้ทราบว่าจะค้นสื่อที่ต้องการจากที่ใด ฉบับใด หรือจากหน้าใดในการค้น
                สำหรับการจัดการสารสนเทศในสำนักงาน ระบบดั้งเดิม ใช้ระบบมือ หรือกำลังคนเป็นหลัก การจัดการเอกสารซึ่งใช้กระดาษระยะแรกจัดเก็บตามการรับเข้า-ออก และจัดทำบัญชีรายการเอกสารด้วยลายมือเป็นรูปเล่ม ต่อมาพัฒนาการจัดเก็บเอกสารโต้ตอบเฉพาะเรื่องไว้ในแฟ้มเรื่องเดียวกันในเอกสาร
                3.2 การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
                1) การรวบรวมข้อมูล
                การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก จะต้องมีการดำเนินการที่รอบคอบและเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันเวลา เช่น การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน
                2) การตรวจสอบข้อมูล
                เพื่อตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบที่ผิดพลาดต้องแก้ไข ทั้งนี้ข้อมูลที่ถูกต้องจะส่งผลทำให้สารสนเทศที่ได้มีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                3) การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
                การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน
                                -การจัดเรียงข้อมูล ส่วนใหญ่จะมีการจัดเรียงตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกการใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ข้อมูลที่จัดเก็บไม่ว่าจะเป็นระบบงานข้อมูลด้านใดก็ตาม จะมีการจัดเรียง ข้อมูลไว้เพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลเสมอ
                                -การสรุปผล ข้อมูลที่ปริมาณมากๆ อาจมีความจำเป็นต้องสรุปผล หรือสร้างรายงานย่อย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งนี้การสรุปผลจะขึ้นอยู่กับความต้องการใช้สารสนเทศว่าต้องการแบบใด ข้อมูลที่สรุปก็จะสรุปตามความต้องการนั้นๆ
                                -การคำนวณ ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ สารสนเทศบางอย่างจะต้องมีการคำนวณข้อมูลเหล่านั้นด้วย
                                -การค้นหาข้อมูล บางครั้งในการใช้ข้อมูลจะต้องมีการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเท่านั้น ดังนั้นการประมวลผลจะต้องมีการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลให้สามารถค้นหาข้อมูลได้โดยจะต้องค้นได้ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว
                4) การดูแลรักษาสารสนเทศ
                การดูแลสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย การเก็บรักษาข้อมูล เมื่อมีการบันทึกข้อมูลไว้ในระบบแล้วจะต้องมีการดูแลรักษาข้อมูลเหล่านั้นไว้เพื่อมิให้สูญหาย เพราะถ้าดูแลรักษาไม่ดี จะต้องมีการรวบรวมใหม่
                5) การสื่อสาร
                ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสารข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญและมีบทบาทที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การส่งข่าวสารไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา

4. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ
                4.1 ขอบเขตของการจัดการสารสนเทศ
                เป็นการใช้หลักของการจัดการเพื่อจัดหา การจัดโครงสร้างการควบคุม การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศดำเนินงานตามขั้นตอนหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ สารสนเทศที่นำมาจัดการในที่นี้หมายถึง สารสนเทศทุกประเภททั้งจากแหล่งกำเนิดภายในและภายนอกองค์การจากแหล่งผลิตเพื่อการเผยแพร่ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งแหล่งทรัพยากรในลักษณะข้อมูล ระเบียน ข้อมูล และแฟ้มข้อมูล ฐานข้อมูล และทรัพยากรสารสนเทศรูปแบบต่างๆ
                กระบวนการจัดการสารสนเทศ ถ้าพิจารณาตามกระบวนการ ประกอบด้วย
                -การรวบรวมสารสนเทศ (collecting) เป็นการรวบรวม จัดเก็บสารสนเทศในรูปกระดาษหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การในการรวบรวม เป็นกำหนดเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติว่าสารสนเทศใดจำเป็นต้องรวบรวม และคัดเลือกนำเข้าสู่ระบบการจัดการสารสนเทศ
                -การจัดหมวดหมู่ (Organize) เป็นการนำสารสนเทศที่ได้รวบรวมและนำเข้าสู่ระบบมาจัดหมวดหมู่เพื่อการใช้ประโยชน์ การจัดหมวดหมู่เนื้อหาครอบคลุมการจัดทำดรรชนี การจำแนกประเภท รวมทั้งการจัดทำลิงค์เพื่อเชื่อมโยงจุดเข้าถึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
                -การประมวลผล (Processing) เป็นการค้นหาและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รวบรวมและเก็บไว้ เพื่อจัดกลุ่ม จัดเรียง สรุปและวิเคราะห์ตามความต้องการโดยการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศอาจรวบรวมจากแหล่งต่างๆ
                -การบำรุงรักษา (Maintaining) เป็นการสารสนเทศที่จัดการไว้กลับมาใช้ซ้ำ เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บสารสนเทศเดียวกันหลายครั้งโดยไม่จำเป็น การปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศให้ทันสมัยและถูกต้องตามระยะเวลา เพื่อให้ผู้ใช้ได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่ดีที่สุด รวมทั้งการประเมินค่าของสารสนเทศเพื่อจัดเก็บ เอกสาร สารสนเทศในอดีตหรือสิ้นกระแสการปฏิบัติงาน แต่ยังมีคุณค่าในการใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง หรือในรูปของจดหมายเหตุ
                ปัจจัยสำคัญของการจัดการสารสนเทศ ในการจัดการสารสนเทศ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 4 ด้าน คือเทคโนโลยี คน กระบวนการ และการบริหารจัดการ ดังนี้
                -เทคโนโลยี มุ่งเน้นสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆให้สามารถติดต่อ สื่อสาร และเข้าถึงสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ เป็นการจัดระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรการบริหารจัดการของผู้บริหารระดับต่างๆการดำเนินงานตามกระบวนการทางธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในงาน
                -คน ในฐานะองค์ประกอบของทุกหน่วยงาน เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการสารสนเทศ ครอบคลุมทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศ การจัดการสารสนเทศ จึงควรสร้างวัฒนธรรม หรือค่านิยมของคนในการใช้สารสนเทศเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
                -กระบวนการ เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน แนวปฏิบัติ วิธีการที่ใช้ในการจัดการสารเทศ
                -การบริหารจัดการ ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดทิศทางนโยบายที่ชัดเจน รวมทั้งการได้รับทรัพยากรสนับสนุนในการดำเนินงานการจัดการสารสนเทศ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินการตามกระบวนการการรวบรวมสารสนเทศ การจัดหมวดหมู่สารสนเทศ การประมวลผล การบำรุงรักษา

5.การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
                -การจัดการเนื้อหาในเว็บไซต์ (web content management – CM)
                -การจัดการเอกสาร (document management – DM)
                -การจัดการด้านจัดเก็บบันทึก (records management – RM)
                -โปรแกรมจัดการทรัพย์สินดิจิทัล (digital asset management – DAM)
                -ระบบการจัดการเรียนการสอน (learning management systems – LM)
                -ระบบการจัดเนื้อหาการสอน (learning content management systems – LCM)
                -ความร่วมมือ (collaboration)
                -การค้นคืนสารสนเทศในองค์กร (enterprise search)
                -และอื่นๆ

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทบาทสารสนเทศกับสังคม


บทที่ 2
บทบาทสารสนเทศกับสังคม
บทนำ
                ปลายศตวรรษที่ 20 โลกเข้าสู่ยุคการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Revolution) มีการนำทรัพยากรสารสนเทศมาใช้งานอย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินงาน ทุกองค์กรนำกลไกการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ นำเสนอข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบเพื่อควบคุมการปฏิบัติงาน มีการติดต่อสื่อสารและใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดสินใจ รวมถึงประมวลผลด้านต่างๆ
                ในช่วงศตวรรษที่ 21 แนวโน้มองค์กรต่างๆเริ่มมีการปรับฐานการลงทุนของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ทั่วโลกได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างฐานความรู้ในสังคมท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์
                ในปัจจุบันนวัตกรรมใหม่ๆที่เกิดขึ้นทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และการสื่อสารได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง หรือที่เรียกว่า “นาโนเทคโนโลยี (Nanotechnology)” ทำให้มีการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างฉับพลันผ่านทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
               
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
                ปัจจุบันนั้นสารสนเทศได้กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ห้า มนุษย์เราขาดเสียมิได้ในการดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศที่จำเป็น ในการประกอบธุรกิจ ในการค้าขาย การผลิตสินค้า และบริการ หรือการให้บริการสังคม การจัดการจัดทรัพยากรของชาติ การบริหารและการปกครอง
                เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีคู่โลกในต้นศตวรรษที่ 21 และเป็นแรงกระตุ้นและเป็นปัจจัยรองรับ ขบวนการโลกาภิวัตน์ ที่กำลังผนวกสังคมเศรษฐกิจไทยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสังคมโลก
                เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล และจัดการกับข่าวสารข้อมูลจำนวนมหาศาล จึงขาดเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เสียมิได้ ส่วนการแสวงหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็ว ทันเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และมีประสิทธิภาพ ก็จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยี โทรคมนาคม  และท้ายสุดสารสนเทศที่มี จะก่อให้เกิดประโยชน์จากการบริโภค อย่างกว้างขวางตามแต่จะต้องการและอย่างประหยัดที่สุด ก็ต้องอาศัยทั้งสองเทคโนโลยีข้างต้นในการจัดการและการสื่อหรือขนย้ายจากแหล่งข้อมูลสารสนเทศ สู่ผู้บริโภคในที่สุด
                นอกจากการเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว คุณสมบัติโดดเด่นอื่นๆที่ทำให้มันกลายเป็นเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์สำคัญแห่งยุคปัจจุบันและในอนาคตก็คือ ความสามารถในการเพิ่มประสิทธิภาพและสมรรถภาพในเกือบทุกๆกิจกรรม โดย
               
1) การลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย
2) การเพิ่มคุณภาพของงาน                             
3) การสร้างกระบวนการหรือกรรมวิธีใหม่ๆ
4) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆขึ้น

                ฉะนั้น โอกาสและขอบเขตการนำ เทคโนโลยีนี้มาใช้ จึงมีหลากหลายในเกือบทุกๆกิจกรรมก็ว่าได้ไม่ว่าจะเป็นการปกครอง การให้บริการสังคม การผลิตทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงการค้าทั้งภายในและระหว่างประเทศอีกด้วย โดยพอสรุปได้ดังนี้
                ภาคสังคม การบริหารและปกครอง การให้บริการพื้นฐานของรัฐ การบริการสาธารณสุข การบริการการศึกษา การให้บริการข้อมูลและสาระบันเทิง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
                ภาคเศรษฐกิจ การเกษตร การป่าไม้ การประมง การก่อสร้าง การคมนาคมทั้งทาบก น้ำ และอากาศ  การค้าภายในและระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมการบริการ ฯลฯ
                การค้าระหว่างประเทศ คือ การอาศัยแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศจำนวนมากมายนั่นเอง ตั้งแต่การสืบและสอบถามสินค้าและราคา การเจรจาตกลงราคา การหาวัตถุดิบสำหรับการผลิต การว่าจ้างและรับช่วงผลิต การว่าจ้างขนส่งสินค้า การประกันวินาศภัย การแจ้งหรือการส่งมอบสินค้า และรายละเอียดเที่ยวบินหรือเรือเดินสมุทรที่ขนย้ายสินค้า รวมถึงการดำเนินการทางพิธีการศุลกากร ฯลฯ การแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมาก ระหว่างองค์กรหลากหลายในแต่ละครั้งของการซื้อขาย จึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยข้อมูลที่แม่นยำ และในอัตราค่าบริการที่ต่ำ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในเชิงแข่งขันระหว่างประเทศ
                ผลประโยชน์ต่างๆจากการประยุกต์ใช้ของเทคโนโลยีดังกล่าว ล้วนเกิดจากคุณสมบัติพิเศษหลายๆประการของเทคโนโลยีกลุ่มนี้ อันสืบเนื่องจากการพัฒนาของเทคโนโลยีที่มีอัตราสูงและอย่างต่อเนื่องตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลให้
                1) ราคาของฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ รวมทั้งค่าบริการ สำหรับการเก็บ การประมวล และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่สารสนเทศมีการลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
                2) ทำให้สามารถนำพาอุปกรณ์ต่างๆทั้งคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมติดตามตัวได้ เนื่องจากได้มีพัฒนาการการย่อส่วนของชิ้นส่วน (miniaturization) และพัฒนาการสื่อสารระบบไร้สาย
                3) ทำให้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารมุ่งเข้าสู่จุดที่ใกล้เคียงกัน (converge) ประเทศอุตสาหกรรมในโลกได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของเทคโนโลยียุทธศาสตร์กลุ่มนี้ จึงให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้มากกว่าเทคโนโลยีอื่นๆที่จัดเป็นเทคโนโลยียุทธศาสตร์สำคัญอีกหลายกลุ่ม ดังเช่นกลุ่มประเทศ OECD (Organization for Economic Co-operation and Development) ได้ศึกษาเปรียบเทียบ ศักยภาพของเทคโนโลยีไฮเทค 5 กลุ่มสำคัญในปัจจุบัน คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุใหม่ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ในประเด็นผลกระทบสำคัญ 5 ประเด็น ได้แก่
                1) การสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ
                2) การปรับปรุงกระบวนการผลิตภัณฑ์และบริการ
                3) การยอมรับจากสังคม
                4) การนำไปประยุกต์ในภาค/สาขาอื่นๆ
                5) การสร้างงานในทศวรรษปี 1990 ปรากฏว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในศักยภาพสูงสุดในทุกประเด็น

3.เทคโนโลยีสารสนกับการพัฒนาสังคม
                เทคโนโลยีสารสนเทศจัดว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศของทุกประเทศก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะแม้ว่าเทคโนโลยีจะยังไม่มีบทบาทโดดเด่นในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการค้าในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม แต่ก็มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการจัดให้บริการสังคมพื้นฐานในการบริหารประเทศ และในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
                การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดศักยภาพในการแข่งขัน จึงย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของนานาประเทศ จากผลการศึกษาใน 11 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีทั้งประเทศที่ถือว่าพัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนา
                หลายประเทศมีความวิตกว่าเทคโนโลยีนี้จะลดการว่าจ้างงาน และทำให้เกิดปัญหาตกงานอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ของประเทศที่พัฒนาแล้ว ชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีนี้ในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและในการสร้างกิจกรรมใหม่ๆจนกล่าวได้ว่าในทางสังคมแล้ว เทคโนโลยีนี้จะช่วยเพิ่มการจ้างแรงงานโดยรวมมากกว่าจะลดตามที่เข้าใจกัน
                เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนช่วยให้การเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจในอัตราสูง ย่อมส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่เพิ่มตามมา ข้อในสหรัฐฯตลอดกว่าศตวรรษที่ผ่านมา พบว่าการจ้างงานมิได้ลดลงจากการใช้เทคโนโลยี อีกทั้งบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นในอนาคตสืบเนื่องจากเทคโนโลยีนี้ ก็ยังจะนำไปสู่การสร้างงานใหม่ๆตามมามากมายอีกด้วย
                เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลกระทบต่อสังคมมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับมนุษย์จะเลือกใช้มันนอย่างไร ในโลกปัจจุบันแรงผลักดันทางเศรษฐกิจมักจะมีบทบาทสูง ในการกำหนดทิศทางของเทคโนโลยีเป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งในอดีตและปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมไปอย่างมาก ในอนาคตธุรกิจบันเทิงจะเป็นธุรกิจอีกประเภทหนึ่งที่จะทำเงินให้แก่ผู้ประกอบการทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีอิทธิพลอย่างสูงกับแนวคิด ความอ่านของผู้คนในสังคม เพราะเป็นวิถีทางหนึ่งที่ผู้ร่วมบันเทิงได้รับอิทธิพลทางความคิดจากผู้อื่นที่ร่วมอยู่ในวงบันเทิง และยอมรับสถานภาพว่าตนก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมนั้นๆ การถ่ายทอดแนวคิดระหว่างบุคคลในสังคมนั้นก็เป็นสิ่งที่เราเรียกว่าวัฒนธรรมนั่นเอง
                แต่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในระยะต่อไปจะเปิดโอกาสให้มีการสื่อข่าวสารจากจุดต่างๆได้เพิ่มขึ้นจากเดิมมากดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นที่คาดกันไว้ว่า จะมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมอีกครั้งหนึ่ง เราอาจจะได้ความหลากหลายกลับคืนมา แต่ความหลากหลายนี้คงจะมีลักษณะแตกต่างจากที่เคยมีอยู่เดิมอย่างแน่นอน
                               
4.สารสนเทศกับบุคคล
                การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความต้องการและการใช้สารสนเทศของบุคคลเพิ่มมากขึ้น สารสนเทศมีการใช้สารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในเรื่องตนเองที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ความเข้าใจมาตัดสินใจแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

5.สารสนเทศกับสังคม
                5.1 ด้านการศึกษา
                สารสนเทศมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา สารสนเทศที่ดีมีคุณค่าและทันสมัย จะช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ จำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่มีอยู่อย่างสมบูรณ์ถูกต้องจากหลายแขนงวิชาพัฒนาให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นมาได้
                5.2 ด้านสังคม
สารสนเทศช่วยพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพส่วนบุคคลให้อยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข อีกทั้งช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เกิดการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิต เราใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ทั้งการประกอบอาชีพการป้องกันและแก้ไขปัญหาชีวิต สารสนเทศช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ได้รับให้กว้างขวาง สร้างความเข้าใจอันดีระหว่างมนุษยชาติ ช่วยลดความขัดแย้ง ทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
                5.3 ด้านเศรษฐกิจ
                สารสนเทศมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ที่เรียกว่า เศรษฐกิจบนฐานความรู้ (Knowledge-based Economy) หน่วยงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจให้ความสำคัญกับ “การจัดการความรู้” (Knowledge management)เพื่อรักษาองค์ความรู้ขององค์กรไว้  สารสนเทศช่วยประหยัดเวลาในการผลิต ลดขั้นตอนการลองผิดลองถูก อีกทั้งช่วยให้องค์กรได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ตามความต้องการของตลาด
                5.4 ด้านวัฒนธรรม
                สารสนเทศช่วยสืบทอกชด ค่านิยม ทัศนคติ ศิลปะ และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์อันดีงามของชาติ ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความสามัคคี ความมั่นคงในชาติ

6.บทบาทเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
                ทุกประเทศในโลกปรารถนาจะเห็นคนของตัวเองได้เป็นผู้เรียนรู้อยู่เสมอตลอดชีวิต ความคิดนี้ได้ก้าวไปอีกขั้นหนึ่งสู่ความคิดที่ว่า ถ้าช่วยกันทำให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมสนับสนุน สังคมก็จะเป็น “สังคมแห่งการเรียนรู้” (Learning Society) เพราะทุกส่วนทุกฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับความรู้ ความคิดเรื่องสังคมแห่งการเรียนรู้เริ่มเป็นที่กล่าวถึงและยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง
                ในปัจจุบันประเทศต่างๆรวมทั้งประเทศไทยได้นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เนื่องด้วยคุณลักษณะที่เอื้อต่อการศึกษา ทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยในหลายมิติ ดังนี้
                เทคโนโลยีลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการตอบสนองนโยบายทางการศึกษาที่เป็น “การศึกษาเพื่อประชาชนทุกคน” (Education for all) อันเป็นการสร้างความเท่าเทียมทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเท่าเทียมทางการศึกษา
                เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา กล่าวคือวัฒนธรรมทางการศึกษาในปัจจุบันเป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ยังทำให้ช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาในวิชาชีพที่ภาคปฏิบัติมีความสำคัญ
                เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนต่อการฝึกอบรม การประชุมและการติดต่อสื่อสาร เช่น การอบรมทางไกล (Tele-Training) ซึ่งทำให้การฝึกอบรมประหยัดเวลาและงบประมาณ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวสารสนเทศยุคใหม่


บทที่ 1
แนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ
                ด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูล ข่าวสาร และความรู้บางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสังคมสารสนเทศนั่นเอง ที่มีการศึกษาค้นคว้า วิจัยและทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดมีความต้องการใช้ ข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว

ความหมายของสานสนเทศ
                สารสนเทศ (Information) หมายถึงข้อมูล ข่าวสาร ที่ได้มีการจัดการไม่ว่าจะเป็นการคิดคำนวณประมวลผลเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ได้มีการคัดเลือกสรรและนำไปใช้ทันต่อความต้องการในการใช้งาน และทันเวลา

ความสำคัญของสารสนเทศ
                สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางในการพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษย์และสังคมเพื่อเสริมสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งด้านการงานนั้น อีกทั้งเป็นแนวทางในการแก้ไข ปัญหา ช่วยในการวางแผน และช่วยในการตัดสินใจ
                รัฐบาลต้องการสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ประกอบการวินิจฉัยสั่งการและวางแผนงานเพื่อพัฒนาประเทศ วงการธุรกิจ สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินงานประจำวันของโลกธุรกิจ และวงการอาชีพช่วยในการตัดสินใจ การปฏิบัติงานประจำวันการวางแผนการคาดการณ์สำหรับอนาคต
                วงการการศึกษาและวิจัย สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐาน ช่วยพัฒนาความรู้ ความเชี่ยวชาญทางวิชาการ และเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัยของนักเรียน นักศึกษา ครูอาจารย์ นักวิชาการ และนักวิจัย
                จะเห็นได้ชัดว่า สารสนเทศเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญยิ่งในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรของรัฐบาล และเอกชน การศึกษาและการวิจัย แม้แต่กับบุคคลทั่วไป ทั้งนี้สารสนเทศช่วยในการถ่ายทอดวิชาการและเทคโนโลยีจากบุคคล
หนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง จากหน่วยงานหนึ่งสู่อีกหน่วยงานหนึ่ง จากประเทศหนึ่งสู่ประเทศหนึ่ง ซึ่งเกิดเป็นแนวคิด แนวทางในการเกิดความรู้ใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาประเทศต่อไป


ประเภทของสารสนเทศ
                1.สารสนเทศจำแนกตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำตามสารสนเทศ
                   1.1 แหล่งปฐมภูมิ (Primary Source) คือสารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง เป็นสารสนเทศทางวิชาการผลของการค้นคว้า วิจัย รายงาน การค้นพบทฤษฎีใหม่ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ซึ่งนำไปสู่การยอมรับเป็นทฤษฎีใหม่ที่เชื่อถือได้ ซึ่งมักจะถูกถ่ายทอดออกมาในลักษณะของสิ่งพิมพ์ เช่น วารสาร รายงานการวิจัย
                   1.2 แหล่งทุติยภูมิ (Secondary Source) คือ สารสนเทศที่มีการรวบรวม เรียบเรียงขึ้นใหม่ จากแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ มักจะอยู่ในรูปแบบสรุป ย่อความ จัดหมวดหมู่ ทำดรรชนีและสาระสังเขปเพื่อประโยชน์การเข้าถึงและใช้ข้อมูลอย่างสะดวก ได้แก่ สื่ออ้างอิงประเภทต่างๆ วารสารที่มีการสรุปที่มีการสรุปและย่อความ เป็นต้น
                   1.3 แหล่งตติยภูมิ (Tertiary Source) คือสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศ จากแหล่งปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะไม่ได้เห็นเนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในด้านการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จึงได้มีการจัดเก็บบันทึกข้อมูลไว้ในสื่อคอมพิวเตอร์ มักจะออกนำเผยแพร่ในรูปของ CD-ROM ฐานข้อมูลออฟไลน์
                2.สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้
                   2.1 กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ที่ง่ายต่อการบันทึก รวมทั้งการเขียนและการพิมพ์
                   2.2 วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อย่อส่วนที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงบนแผ่นฟิล์มต่างๆ ทั้งที่เป็นม้วนและแผ่น
                   2.3 สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้สะดวกทั้งข้อมูลที่เป็นแอนาล็อกและดิจิทัล เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
                   2.4 สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical Media ) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น CD-ROM  DVD  เป็นต้น

คุณสมบัติสารสนเทศ
                1) สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็ว ในการเข้าถึงสารสนเทศ เพื่อนำสารสนเทศไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจ รวมทั้งรวดเร็วในการสืบค้น
                2) มีความถูกต้อง (Accurate) ต้องมีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยไม่มีความคลาดเคลื่อนหรือเคลื่อนน้อยที่สุด
                3) มีความครบถ้วน (Completeness) ต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจเป็นไปด้วยความถูกต้อง
                4) ความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทั้งนี้หากสารสนเทศที่ได้รับนั้นไม่ตรงกับความต้องการก็ไม่เกิดประโยชน์โดยเฉพาะการผลิตสารสนเทศต้องเสียค่าใช้จ่าย
                5) ความทันต่อเวลา (Timeliness) ต้องมีระยะเวลาสั้น มีความรวดเร็วในการประเมินผล เพื่อผู้ใช้จะได้รับทันเวลา
                6) ความชัดเจน (Clarity) ไม่ต้องมีการตีความ กำกวม ไม่คลุมเครือ และไม่ต้องหาคำตอบเพิ่มเติม
                7) ความยืดหยุ่น (Flexibility) นำสารสนเทศไปปรับใช้ได้หลายสถานการณ์ หรือเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้อย่างกว้างขวาง มากกว่าเป็นสารสนเทศที่เฉพาะบุคคล
                8) ความสามารถในการพิสูจน์ (Verifiability) ต้องสามารถหรือพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริง
                9) ความซ้ำซ้อน (Redundancy) สารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
                10) ความไม่ลำเอียง (Bias) ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้น ไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสารสนเทศตามที่ได้กำหนดหรือหาข้อยุติไว้ล่วงหน้า

แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
                แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่เกิด ผลิต หรือจัดเก็บและให้ทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา โดยมีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่างๆกัน
                1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง หรือสถานที่จำลอง ซึ่งผู้ใช้สามารถไปศึกษาหาความรู้จากตัวสถานที่เหล่านั้น
                2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน คือ สถาบันตั้งขึ้นมาเพื่อ จัดหา รวบรวมวัสดุสารสนเทศชนิดต่างๆมาจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บุคคลมาศึกษาหาความรู้จากวัสดุสารสนเทศเหล่านั้น เช่น ห้องสมุด เป็นต้น
                3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ
                4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ เหตุการณ์สำคัญๆต่าง งานมหกรรม งานบุญประเพณี เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งสารสนเทศและจัดเป็นแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิ
                5) แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน เน้นการทันสมัย เป็นการถ่ายทอดในรูปของการกระจายเสียง ภาพและตัวอักษรโดยผ่านสื่อประเภทวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์
                6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource or Information Material)
                ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง  วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ สารสนเทศ และความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกได้ว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
                1) ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) เป็นสารสนเทศที่มีลักษณะเป็นแผ่น หรือรูปเล่มที่ตีพิมพ์ในกระดาษ
มีขนาดต่างกันและหลายรูปแบบ
                   - หนังสือ (Book)
                   - วารสาร (Periodicals)
                   - หนังสือพิมพ์ (Newspaper)
                   - จุลสาร (Pamphlet)
                   - กฤตภาค (Clipping)
                2) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญที่แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องผู้ใช้สามารถจดจำและเข้าใจเรื่องที่ต้องการศึกษาได้ง่าย
                   - ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้มอง ได้แก่ แผนภูมิ แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
                   - โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้ฟัง ได้แก่ เทปเสียง แผ่นซีดี เป็นต้น
                   - โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียงและภาพเคลื่อนไหว ได้แก่ ภาพยนตร์ VCD DVD และรายการโทรทัศน์
                3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูแบบของดิจิทัล (Digital) ซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าในระบบคอมพิวเตอร์ สามารถบันทึกสารสนเทศได้ทั้งที่เป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ได้แก่
                   - ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นสารสนเทศที่สื่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้นหากต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศข้ามเครื่องจะต้องบันทึกสัญญาณดิจิทัลลงในสื่อ เช่น CD Flash Drive แล้วจึงนำสื่อนั้นไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
                   - ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Database) เป็นแหล่งสารสนเทศที่มีการรวบรวมไว้เป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บและค้นหาสารสนเทศ โดยผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการมีทั้ง ข้อมูลบรรณานุกรมของหนังสือ บทความวารสาร สิ่งพิมพ์อื่นๆข้อมูลสาระสังเขป ข้อมูลตัวเลข สถิติ และเนื้อหาของสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็คืออินเทอร์เน็ต